โรคอ้วน วัดจากอะไร ปัญหาใหญ่สุดอันตราย แถมพ่วงโรคร้ายเพียบ

โรคอ้วน วัดจากอะไร ปัญหาใหญ่สุดอันตราย แถมพ่วงโรคร้ายเพียบ

May 24, 2022 0 By Erica

ความอ้วน โรคอ้วน ไขมันหน้าท้อง ไม่ได้ทำลายแค่ความสวยงามของรูปร่างเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้ยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคร้ายมากกว่าคนทั่วไป แต่หลายคนตั้งคำถามว่าแท้จริงโรคอ้วน วัดจากอะไรกันแน่? แล้วความอ้วน มีกี่ระดับ เพื่อคลายข้อสงสัย วันนี้เรารวบรวมข้อมูลดี ๆ ที่เป็นประโยชน์มาฝากอีกเช่นเคย

โรคอ้วน คืออะไร?

น้ำหนักเกินเกณฑ์และโรคอ้วน คำ ๆ นี้อ้างอิงความหมายจาก องค์การอนามัยโลก WHO ว่าโรคอ้วนเป็นการสะสมของไขมันผิดปกติ หรือมีปริมาณมากเกินไป ซึ่งนั่นถือเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะสามารถวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI ที่มีมากเกิน 25 จะจัดว่าอยู่ในกลุ่มของคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และหากมากกว่า 30 จะเป็นโรคอ้วนที่ต้องระมัดระวังสุขภาพมากเป็นพิเศษ

โรคอ้วน

โรคอ้วน คืออะไร

ซึ่งปัญหาเรื่องโรคอ้วนได้มีสัดส่วนที่แพร่ขยายมากขึ้นเรื่อย ๆ จากผลสำรวจในปี 2017 พบว่ามีผู้คนเสียชีวิตอันมีผลมาจากการที่ร่างกายมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มากถึง 4 ล้านคน/ปี อีกทั้งอัตราโรคอ้วนยังคงเติบโตมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า เด็กและวัยรุ่นในช่วงอายุ 5 – 19 ปี มีอัตราเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่า หรือประมาณ 18% ทั่วโลก ซึ่งแต่เดิมปัญหาโรคอ้วนมักพบได้มากในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ค่อนข้างสูง แต่ทว่าปัจจุบันกลับพบว่าในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ก็มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินเกณฑ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมือง หรือในประเทศกำลังพัฒนามีอัตราเพิ่มขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว 30% และความเสี่ยงจากโรคอ้วน สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 ระดับ ดังนี้

  • ความเสี่ยงต่ำ : ค่า BMI 23 – 30 และไม่มีโรคร่วม
  • ความเสี่ยงปานกลาง : ค่า BMI > 30 หรือ BMI 0 – 30 และมีโรคร่วมอย่าง 1 อย่าง
  • ความเสี่ยงสูง : ค่า BMI > 30 – 35 และมีโรคร่วมมากกว่า 1 อย่าง
  • ความเสี่ยงสูงมาก : ค่า BMI > 40 หรือ BMI > 35 และมีโรคร่วมมากกว่า 1 อย่าง

โรคอ้วนไม่ได้มีแค่ความอ้วน แต่อาจเป็นตัวนำโรคร้ายอื่นด้วย!

คนที่เป็นโรคอ้วนหลายคนคงรู้ดี ว่านอกจากเรื่องรูปลักษณ์และการใช้ชีวิตประจำวันที่แสนลำบากแล้ว โรคอ้วนยังเป็นบันไดที่อาจนำไปสู่ปัญหาโรคร้ายอื่น ๆ ที่คาราคาสัง โดยประเด็นนี้อ้างอิงมาจาก Medline Plus ที่บอกว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วน มีโอกาสสูงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพเหล่านี้

  • น้ำตาลในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • คอเลสเตอรอลในเลือดสูง หรือโรคไขมันในเลือด
  • หัวใจวายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมอง
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ เพราะน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลให้กระดูกและข้อต่อ ต้องแบกรับน้ำหนัก อาจนำไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อมและอาการปวดข้อ
  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea)
  • โรคนิ่วและปัญหาเกี่ยวกับตับ
  • มะเร็งบางชนิด
  • มีความเหนื่อยล้า ง่วงนอนตลอดทั้งวัน สมาธิสั้นกว่าปกติ และส่งผลต่อการทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
โรคอ้วน

น้ำหนักเกินเกณฑ์ ควรลดด้วยวิธีที่ปลอดภัย

ซึ่งหากตกอยู่ในกลุ่มที่มีค่า BMI สูงกว่าเกณฑ์ แนะนำให้ลดความอ้วนแบบจริงจัง ด้วยการควบคุมปริมาณอาหารหรือปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร กินอาหารให้หลากหลาย แต่เน้นการทานโปรตีนจากสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาลสูง ดื่มน้ำให้ได้วันละ 2 ลิตรเพื่อช่วยในการขับถ่ายและเผาผลาญ ที่สำคัญต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้ดึงไขมันที่มีอยู่ออกมาใช้ ในช่วงแรกอาจเริ่มต้นด้วยการเดิน จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากและเวลาในการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้เกิดการปรับตัว นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีวิธีลดน้ำหนักและลดสัดส่วน ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ให้ได้เลือกใช้ ตัวอย่าง

  1. เครื่อง INDIBA ลดไขมันได้ถึงระดับเซลล์ ผ่านการใช้คลื่นวิทยุ กระตุ้นเซลล์ และลดไขมันใต้ผิวหนัง กระชับสัดส่วน รวมไปถึงการขจัดเซลลูไลท์บนผิวหนัง
  2. IV Burn Fat Burn เป็นการลดน้ำหนักผ่านการดริปวิตามินเข้าไปในหลอดเลือด แต่หากต้องการให้ได้ผลแนะนำให้ออกกำลังกาย และคุมอาหารไปด้วย จะช่วยให้การเผาผลาญทำงานได้ดีมากขึ้น
  3. Moso Fat เป็นการฉีดวิตามินเข้าไปยับยั้งการเติบโตของไขมัน เหมาะสำหรับการฉีดตรงบริเวณที่มีไขมันสะสมและลดยาก เช่น ใบหน้า เหนียง หน้าท้อง แขน ขา เป็นต้น ซึ่งวิธีเป็นวิธีกระชับสัดส่วนที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

หรือหากคิดว่าไม่สามารถลดน้ำหนัก หรือลดสัดส่วนได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการลดและควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้การลดน้ำหนักเร่งด่วนมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และป้องกันการลดน้ำหนักแบบผิดวิธี ที่ทำให้เสี่ยงต่อการโยโย่ในอนาคต

ขอบคุณข้อมูลจาก : Promotions.co.th