โรคซึมเศร้า ภัยร้ายที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด!

โรคซึมเศร้า ภัยร้ายที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด!

February 23, 2021 0 By Erica

แบบไหนถึงเรียกว่าเข้าข่ายสภาวะซึมเศร้า ?

คนเราทุกคนเกิดมาล้วนมีปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียด ความว้าวุ่นใจ และความไม่สบายใจกันทุกคน แต่ปัญหาเล็กของคุณอาจเป็นปัญหาใหญ่สำหรับอีกหนึ่งคนหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น อย่าตัดสินคนอื่นว่าเขาหรือเธอกำลังเรียกร้องความสนใจ เพราะบางครั้งเขาอาจกำลังเผชิญหน้ากับอันตรายร้ายแรงอย่าง  ‘โรคซึมเศร้า’

โรคซึมเศร้าหรือกลุ่มโรคทางอารมณ์ เป็นอาการที่มีผลมาจากการทำงานของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน Serotonin) นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (dopamine) ที่ลดลง เป็นอาการที่ส่งผลผิดปกติในทางอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จะรู้สึกเคว้างคว้าง หมดหวัง จนไม่สามารถหาทางออกได้ โดยอาการเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นซึมเศร้านั้นมักมีอาการที่หนักกว่า ทั้งยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ยากลำบาก ทั้งการมองโลกในแง่ร้าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่ต้องการเข้าสังคมกับคนอื่น และนำไปสู่การจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย

โรคซึมเศร้า ภัยร้ายที่ไม่ห้ามมองข้าม!

โรคซึมเศร้า ภัยร้ายที่ไม่ห้ามมองข้าม!

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

อาการซึมเศร้าจะถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท คือ โรคซึมเศร้า (ทางจิต), โรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตร, โรคซึมเศร้าก่อนมีรอบเดือน และโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล โดยสาเหตุหลักของการป่วยเป็นซึมเศร้า มีดังนี้

  • เกิดจากสมองที่ทำงานผิดปกติที่มีเส้นประสาทไม่สมดุลกัน หรือมีปัญหาในการทำงานประกอบกันกับปัจจัยอื่น ๆ ทั้งด้านความรู้สึก และอารมณ์
  • มีทัศนคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ลบ ทั้งทางความคิดและมุมมองต่าง ๆ ก็ส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้
  • ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายมา หรือถูกสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำร้านจิตใจมาเป็นเวลานาน หรือบ่อยครั้ง จนทำให้เกิดอาการเศร้าและสิ้นหวัง
  • การใช้ยาบางชนิด ดังนั้นควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์ทุกครั้งเมื่อต้องใช้ยา
  • พันธุกรรมในครอบครัว ส่งผลให้เป็นซึมเศร้าได้มากขึ้น
โรคซึมเศร้า ภัยร้ายที่ไม่ห้ามมองข้าม!

โรคซึมเศร้า ภัยร้ายที่ไม่ห้ามมองข้าม!

การทดสอบโรคซึมเศร้า

ทุกวันนี้มีแอปพลิเคชั่นที่ไว้ใช้สำหรับการทดสอบจิตใจว่าผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ซึ่งคำถามที่ไว้ใช้สำหรับการทดสอบที่อ้างอิงจากสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) มีด้วยกันทั้งหมด 9 ข้อ ดังนี้

  • รู้สึกเศร้าตลอดเวลา หรือมีอารมณ์เศร้าเป็นส่วนใหญ่ในแต่ละวัน
  • หมดความสนใจกับสิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่เคยรู้สึกสนุกมาก่อน
  • น้ำหนักลด หรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • นอนไม่หลับ หรือหลับมากจนเกินไป
  • อ่อนเพลียง่าย ไม่อยากทำอะไร
  • กระสับกระส่าย หรือเชื่องช้าทางความคิด และการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า รู้สึกผิดตลอดเวลา
  • ไม่มีสมาธิ จิตใจไม่นิ่ง มีปัญหาเกี่ยวกับการคิด และตัดสินใจ
  • หดหู่ อยากฆ่าตัวตาย

หากผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายอย่างน้อย 5 ข้อ จาก 9 ข้อที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จึงจะระบุได้ว่ากำลังเข้าข่ายสภาวะซึมเศร้า ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเข้ารับคำแนะนำและเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตเวช

ซึ่งสภาวะซึมเศร้าถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ที่สำคัญหากเข้าพบแพทย์แล้วควรปฏิบัติตนและกินยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับรองได้เลยว่าเรื่องเลวร้ายทั้งหมดนี้จะค่อย ๆ หายไปจากตัวคุณ

ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเพชรเวช